22/3/56

แบรนซัมเมอร์แคมป์

ชีทติว มาม่า

1. ชีท ติวมาม่า ปี 2553 - วิชา ภาษาไทย O-Net + Gat คิดวิเคราะห์
1.1 http://www.247friend.net/mamabook2009/Thai_Onet_GAT/THAI_1_mama.pdf
1.2 http://www.247friend.net/mamabook2009/Thai_Onet_GAT/THAI_1_mama.pdf

2. ชีท ติวมาม่า ปี 2553 - วิชา สังคมศึกษา O-Net
2.1 http://www.247friend.net/mamabook2009/Social/Social_1_mama.pdf
2.2 http://www.247friend.net/mamabook2009/Social/Social_2_mama.pdf

3. ชีท ติวมาม่า ปี 2553 - วิชา ภาษาอังกฤษ O-Net + Gat อังกฤษ (เฉพาะภาคกลาง)
3.1 http://www.247friend.net/mamabook2009/Eng_Onet_GAT_Bangkok/Eng_KruNan_BKK_1.pdf
3.2 http://www.247friend.net/mamabook2009/Eng_Onet_GAT_Bangkok/Eng_KruNan_BKK_2.pdf
3.3 http://www.247friend.net/mamabook2009/Eng_Onet_GAT_Bangkok/Eng_KruNan_BKK_3.pdf
4. ชีท ติวมาม่า ปี 2553 - วิชา ภาษาอังกฤษ O-Net + Gat อังกฤษ (ภาคอื่นๆ)
4.1 http://www.247friend.net/mamabook2009/Eng_Onet_GAT_Region/ENG_mama_A_Sathita_Region.pdf
5. ชีท ติวมาม่า ปี 2553 - วิชา PAT 2 (ความถนัดทางวิทยาศาสตร์)
5.1 http://www.247friend.net/mamabook2009/PAT2/PAT2_01_mama.pdf
5.2 http://www.247friend.net/mamabook2009/PAT2/PAT2_02_mama.pdf
5.3 http://www.247friend.net/mamabook2009/PAT2/PAT2_03_mama.pdf
5.4 http://www.247friend.net/mamabook2009/PAT2/PAT2_04_mama.pdf
5.5 http://www.247friend.net/mamabook2009/PAT2/PAT2_05_mama.pdf
5.6 http://www.247friend.net/mamabook2009/PAT2/PAT2_06_mama.pdf
5.7 http://www.247friend.net/mamabook2009/PAT2/PAT2_07_mama.pdf
5.8 http://www.247friend.net/mamabook2009/PAT2/PAT2_08_mama.pdf
5.9 http://www.247friend.net/mamabook2009/PAT2/PAT2_09_mama.pdf

6. ชีท ติวมาม่า ปี 2553 - วิชา วิทยาศาสตร์ (O-Net)
6.1 http://www.247friend.net/mamabook2009/Vit-Onet/Vit_Onet_1_mama.pdf
6.2 http://www.247friend.net/mamabook2009/Vit-Onet/Vit_Onet_2_mama.pdf
6.3 http://www.247friend.net/mamabook2009/Vit-Onet/Vit_Onet_3_mama.pdf

7. ชีท ติวมาม่า ปี 2553 - วิชา คณิตศาสตร์ O-Net + PAT 1 (ความถนัดทางคณิตศาสตร์)
Part 1 (เฉพาะภาคกลาง)
7.1.1 http://www.247friend.net/mamabook2009/Math_Onet_Pat1_Bangkok/Math1_Bkk_O-Net_PAT1/1_Math_mama_Bkk.pdf
7.1.2 http://www.247friend.net/mamabook2009/Math_Onet_Pat1_Bangkok/Math1_Bkk_O-Net_PAT1/2_Math_mama_Bkk.pdf
7.1.3 http://www.247friend.net/mamabook2009/Math_Onet_Pat1_Bangkok/Math1_Bkk_O-Net_PAT1/3_Math_mama_Bkk.pdff

Part 2 (เฉพาะภาคกลาง)
7.2.1 http://www.247friend.net/mama/download/Math_the_Brain_PAT1_Bkk.pdf
ภาคอื่นๆ
7.3.1 http://www.247friend.net/mamabook2009/Math_0net_Pat1_Region/Math_1_mama_Region.pdf
7.3.2 http://www.247friend.net/mamabook2009/Math_0net_Pat1_Region/Math_2_mama_Region.pdf
7.3.3 http://www.247friend.net/mamabook2009/Math_0net_Pat1_Region/Math_3_mama_Region.pdf

เฉลยคู่มือติวมาม่า

PAT 1  ความถนัดทางคณิตศาสตร์ (The Brain)

อ.วิเศษ กี่สุขพันธ์ (พี่เอ๋) + อ.ชวลิต กุลกีรติการ (พี่กอล์ฟ)

เฉลยคำตอบตะลุยโจทย์ ฟังก์ขันเอกซ์โพเนนเชียลและฟังก์ชันลอการิทึม, เมตริกซ์
http://www.247friend.net/tobtun12/images/manual/answer_pat1_the_brain_bkk/expo_log_matrix.pdf

เฉลยคำตอบตะลุยโจทย์ ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน, ระบบจำนวนจริงhttp://www.247friend.net/tobtun12/images/manual/answer_pat1_the_brain_bkk/02.pdf

PAT 2  ความถนัดทางวิทยาศาสตร์


เคมี     รศ.สุธน เสถียรยานนท์
http://www.247friend.net/tobtun12/images/manual/pat2/chem_a_suthon.jpg

เคมี     อ.บัวแก้ว รัตนกมุท (เคมี)
http://www.247friend.net/tobtun12/images/manual/pat2/chem_a_burkeaw.jpg

ฟิสิกส์  อ.กฤตนัย  จันทรจตุรงค์ (ฟิสิกส์)

http://www.247friend.net/tobtun12/images/manual/pat2/phisics_a_kittanai.jpg

ชีววิทยา (มีเฉลยในคู่มือที่เปิดให้ดาวน์โหลดแล้ว)

ภาษาอังกฤษ O-Net + Gat อังกฤษ

ครูพี่แนน (อ.อริสรา  ธนาปกิจ) และ คณะ

http://upload.one2car.com/download.aspx?pku=27D3804AAABP5U9[AN95Q87H2F734F

สัมคมศึกษา O-Net

อ.ชัย ลาภเพิ่มทวี
http://www.247friend.net/tobtun12/images/manual/sicial_o_net/social_onet_a_chai.jpg
อ.ขนิษฐา  แก้วเกิดhttp://www.247friend.net/tobtun12/images/manual/sicial_o_net/social_onet_a_kanit.jpg
อ.กุลรัตน์  ผ่องสถาพรhttp://www.247friend.net/tobtun12/images/manual/sicial_o_net/social_onet_a_kul.jpg



 Vdo มาม่า ครั้งที่ 12 พร้อมเฉลยมาและชีทมาแล้วจ้า
 เฉลยคู่มือติวมาม่า

ชีททุกวิชาจ้า    Download

PAT 2  ความถนัดทางวิทยาศาสตร์
เคมี     รศ.สุธน เสถียรยานนท์
เคมี     อ.บัวแก้ว รัตนกมุท (เคมี)
ฟิสิกส์  อ.กฤตนัย  จันทรจตุรงค์ (ฟิสิกส์)

บทเรียนออนไลน์วิชาฟิสิกส์พื้นฐาน







27/6/55

ความรุนแรงของแผ่นดินไหว


ความรุนแรงของแผ่นดินไหว

มาตราเมอร์คัลลี      
      แผ่นดินไหวแต่ละครั้งมีความรุนแรงไม่เท่ากัน บางครั้งไม่สามารถรู้สึกได้ แต่บางครั้งก็ทำให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรง เช่น อาคารถล่ม ถนนขาด แผ่นดินทรุด ทำให้ผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก ระบบวัดความรุนแรงของแผ่นดินไหวที่เข้าใจง่ายที่สุดคือ มาตราเมอร์คัลลี (Mercalli scale) ซึ่งกำหนดจากความรู้สึกหรือการตอบสนองของผู้คนโดยจำแนกได้ดังนี้ 
        I     มนุษย์ไม่รู้สึก ตรวจวัดได้เฉพาะเครื่องมือ
        II    รู้สึกได้เฉพาะกับผู้ที่อยู่นิ่งกับที่ สิ่งของแกว่งไกวเล็กน้อย 
        III   คนอยู่ในบ้านรู้สึกได้เหมือนรถบรรทุกแล่นผ่าน
        IV   คนส่วนใหญ่รู้สึกได้เหมือนรถบรรทุกแล่นผ่าน 
        V    ทุกคนรู้สึกได้ สิ่งของขนาดเล็กเคลื่อนที่
        VI   คนเดินเซ สิ่งของขนาดใหญ่เคลื่อนที่ 
        VII  คนยืนนิ่งอยู่กับที่ไม่ได้ อาคารเสียหายเล็กน้อย
        VIII อาคารเสียหายปานกลาง
        IX   อาคารเสียหายอย่างมาก 
        X    อาคารถูกทำลายพร้อมฐานราก 
        XI   แผ่นดินแยกถล่มและเลื่อนไหล สะพานขาด รางรถไฟบิดงอ ท่อใต้ดินชำรุดเสียหาย 
        XII  สิ่งปลูกสร้างทั้งหมดถูกทำลาย พื้นดินเป็นลอนคลื่น 

มาตราริกเตอร์ 
        มาตราวัดขนาดแผ่นดินไหวของริกเตอร์ (The Richter Magnitude Scale) พัฒนาโดย ชาร์ล เอฟ ริกเตอร์ นักธรณีวิทยาชาวอเมริกาเมื่อปี พ.ศ.2478 เป็นมาตราที่วัดขนาดของแผ่นดินไหว ซึ่งบันทึกได้จากเครื่องวัดคลื่นไหวสะเทือนโดยใช้หน่วย “ริกเตอร์” (Richter) เป็นตัวเลขที่ทำให้สามารถเปรียบเทียบขนาดของแผ่นดินไหวต่างๆ กันได้ โดยคำนวนจากสูตรทางคณิตศาสตร์เป็น logarithm ของความสูงของคลื่นแผ่นดินไหวที่บันทึกได้ ยกตัวอย่างเช่น แผ่นดินไหวขนาด 7 ริกเตอร์ มีความรุนแรงเป็น 10 เท่าของแผ่นดินไหวขนาด 6 ริกเตอร์ และมีความรุนแรงเป็น 100 เท่าของแผ่นดินไหวขนาด 5 ริกเตอร์  
        ขนาด (Magnitude) ของแผ่นดินไหวเป็นตัวเลขทางคณิตศาสตร์ที่บ่งชี้ความร้ายแรงของแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นที่ระดับเป็นศูนย์ โดยกำหนดให้แผ่นดินไหวที่เกิดที่ระดับเป็นศูนย์ มีค่าความสูงของคลื่น 0.001 มม. ที่ระยะทาง 100 กิโลเมตร จากศูนย์กลางแผ่นดินไหว (Epicenter) ขนาดของแผ่นดินไหวตามมาตราริกเตอร์บอกเป็นตัวเลข จำนวนเต็มและจุดทศนิยม ดังนี้

ขนาดแผ่นดินไหว (ริกเตอร์)         ประเภท
<3.0                                      แผ่นดินไหวขนาดเล็กมาก (Micro)
3.0 - 3.9                                แผ่นดินไหวขนาดเล็ก (Minor)
4.0 - 4.9                                แผ่นดินไหวขนาดค่อนข้างเล็ก (Light)
5.0 - 5.9                                แผ่นดินไหวขนาดปานกลาง (Moderate)
6.0 - 6.9                                แผ่นดินไหวขนาดค่อนข้างใหญ่ (Strong)
7.0 - 7.9                                แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ (Major)
>8.0                                     แผ่นดินไหวใหญ่มาก (Great)

ตัวอย่างแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ของโลก
 ปี                     วันที่ศูนย์เกิดแผ่นดินไหว ยอดผู้เสีียชีวิต ริกเตอร์ หมายเหตุ
2466     1 ก.ย. ญี่ปุ่น, เมืองริกุอูโกะ143,000  8.2ไฟไหม้ครั้งใหญ่ที่โตเกียว
2513 31 พ.ค.   เปรู 66,000 7.8แผ่นดินถล่มใส่เมืองยันเกย์
2519 27 ก.ค. จีน, เมืองตังชาน 250,000 7.6ความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่
2547 26 ธ.ค. อินโดนีเซีย 226,300 9.1เกิดคลื่นสึนามิ
 2554 11 มี.ค. ญี่ปุ่น, กรุงโตเกียว >10,000 8.9เกิดคลื่นสึนามิ

คลื่นไหวสะเทือน


คลื่นไหวสะเทือน

        แผ่นดินไหวเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นเนื่องจากการเคลื่อนตัวของชั้นหินในเปลือกโลก  เมื่อชั้นหินกระทบกันทำเกิดคลื่นไหวสะเทือน (Seismic waves)  เราเรียกจุดกำเนิดของคลื่นไหวสะเทือนว่า "ศูนย์เกิดแผ่นดินไหว" (Focus) และเรียกตำแหน่งบนผิวโลกที่อยู่เหนือจุดกำเนิดของคลื่นแผ่นดินไหวว่า "จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว" (Epicenter)​ ซึ่งมักจะใช้อ้างอิงด้วยพิกัดละติจูด/ลองจิจูด  เมื่อเกิดแผ่นดินไหวจะเกิดคลื่นไหวสะเทือน 2 แบบ  คือ คลื่นในตัวกลาง และคลื่นพื้นผิว


ภาพที่ 1 ศูนย์เกิดแผ่นดินไหว  

        คลื่นในตัวกลาง (Body wave) เดินทางจากศูนย์เกิดแผ่นดินไหว ผ่านเข้าไปในเนื้อโลกในทุกทิศทาง ในลักษณะเช่นเดียวกับคลื่นเสียงซึ่งเกินทางผ่านอากาศในทุกทิศทาง  คลื่นในตัวกลางมี 2 ชนิด  คือ คลื่นปฐมภูมิ (P wave)  และ คลื่นทุติยภูมิ (S wave) ดังภาพที่ 2
    • คลื่นปฐมภูมิ (P wave) เป็นคลื่นตามยาวที่เกิดจากความไหวสะเทือนในตัวกลาง โดยอนุภาคของตัวกลางนั้นเกิดการเคลื่อนไหวแบบอัดขยายในแนวเดียวกับที่คลื่นส่งผ่านไป คลื่นนี้สามารถเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางที่เป็นของแข็ง ของเหลว และก๊าซ เป็นคลื่นที่สถานีวัดแรงสั่นสะเทือนสามารถรับได้ก่อนชนิดอื่น โดยมีความเร็วประมาณ 6 – 7 กิโลเมตร/วินาที  
    • คลื่นทุติยภูมิ (S wave) เป็นคลื่นตามขวางที่เกิดจากความไหวสะเทือนในตัวกลางโดยอนุภาคของตัวกลางเคลื่อนไหวตั้งฉากกับทิศทางที่คลื่นผ่าน มีทั้งแนวตั้งและแนวนอน คลื่นชนิดนี้ผ่านได้เฉพาะตัวกลางที่เป็นของแข็งเท่านั้น ไม่สามารถเดินทางผ่านของเหลว  คลื่นทุติยภูมิมีความเร็วประมาณ  3 – 4 กิโลเมตร/วินาที  


ภาพที่ 2  คลื่นปฐมภูมิ (P wave) และคลื่นทุติยภูมิ (S wave)

        คลื่นพื้นผิว (Surface wave) เดินทางจากจุดเหนือศูนย์กลางแผ่นดินไหว (Epicenter) ไปทางบนพื้่นผิวโลก ในลักษณะเดียวกับการโยนหินลงไปในน้ำแล้วเกิดระลอกคลื่นบนผิวน้ำ คลื่นพื้นผิวเคลื่อนที่ช้ากว่าคลื่นในตัวกลาง คลื่นพื้นผิวมี 2 ชนิด คือ คลื่นเลิฟ (L wave) และคลื่นเรย์ลี (R wave)
  • คลื่นเลิฟ (L wave) เป็นคลื่นที่ทำให้อนุภาคของตัวกลางสั่นในแนวราบ โดยมีทิศทางตั้งฉากกับการเคลื่อนที่ของคลื่น ดังภาพที่ 3 สามารถทำให้ถนนขาดหรือแม่น้ำเปลี่ยนทิศทางการไหล 

    ภาพที่ 3  คลื่นเลิฟ (L wave) 

  • คลื่นเรย์ลี (R wave) เป็นคลื่นที่ทำให้อนุภาคตัวกลางสั่น ม้วนตัวขึ้นลงเป็นรูปวงรี ในแนวดิ่ง โดยมีทิศทางเดียวกับการเคลื่อนที่ของคลื่น ดังภาพที่ 4  สามารถทำให้พื้นผิวแตกร้าว และเกิดเนินเขา ทำให้อาคารที่ปลูกอยู่ด้านบนเกิดความเสียหาย 

ภาพที่ 4  คลื่นเรย์ลี (R wave) 



การหาจุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว

        เครื่องวัดความไหวสะเทือน (Seismograph) ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ปากกาซึ่งติดตั้งบนตุ้มน้ำหนักซึ่งแขวนห้อยติดกับลวดสปริง และม้วนกระดาษบันทึกการสั่นสะเทือนแผ่นดินไหว (Seismogram) โดยที่ทั้งสองส่วนติดตั้งบนแท่นซึ่งยืดอยู่บนพื้นดิน  เครื่องวัดความไหวสะเทือนทำงานโดยอาศัยหลักการของความเฉี่อย (Inertia) ของลวดสปริงที่แขวนลูกตุ้ม  เมื่อแผ่นดินยกตัวลวดสปริงจะยืดตัว  และถ้าหากแผ่นดินจมตัวลวดสปริงก็จะหดขึ้น ดังนั้นไม่ว่าแผ่นดินจะเคลื่อนไหวอย่างไร ลวดสปริงจะคงระดับของตุ้มน้ำหนักไว้ที่ระดับเดิมเสมอ  ส่วนม้วนกระดาษจะเคลื่อนที่ขึ้นลงตามการเคลื่อนที่ของแผ่นดิน ดังนั้นปลายปากกาที่ติดตั้งฉากกับตุ้มน้ำหนักจึงวาดเส้นกราฟบนม้วนกระดาษซึ่งหมุนม้วนรอบแกน เพื่อบันทึกค่าการสั่นไหวของคลื่นไหวสะเทือน ดังภาพที่ 5  (หมายเหตุ: ในความเป็นจริง เครื่องวัดความไหวสะเทือนจะวัดค่าการสั่นสะเทือนทังในแกนตั้งและแกนนอน)  



ภาพที่ 5  การทำงานของเครื่องวัดความไหวสะเทือน (คลิกที่รูปเพื่อดูภาพใหญ่) 
        ในการวิเคราะห์ตำแหน่งจุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว (Epicenter) นั้น จะต้องอาศัยเครื่องวัดความไหวสะเทือนหลายชุด ทำงานร่วมกันเป็นเครือข่าย   เมื่อเกิดแผ่นดินไหวคลื่นในตัวกลางซึ่งประกอบด้วยคลื่น P และคลื่น S จะเดินผ่านภายในของโลกโดยคลื่น P จะเคลื่อนที่เร็วกว่าคลื่น S   ส่วนคลื่นพื้นผิว (เช่น คลื่น L และคลื่น R) จะเดินทางไปตามพื้นผิวโลกซึ่งเคลื่อนที่ช้ากว่าคลื่นในตัวกลาง  ภาพที่ 6 แสดงให้เห็นว่า เครื่องวัดความไหวสะเทือนจะบันทึกค่าการไหวสะเทือนของ คลื่น P ได้ก่อนคลื่น S แล้วตามด้วยคลื่นพื้นผิว ตามลำดับ  สถานี ก ที่อยู่ใกล้จุดเกิดแผ่นดินไหว (Focus) จะบันทึกค่าการไหวสะเทือนได้ก่อนสถานี ข ซึ่งอยู่ไกลกว่า   


ภาพที่ 6 การเดินทางของคลื่นไหวสะเทือน



        เมื่อนำค่าที่ได้จากเครือข่ายเครื่องวัดความไหวสะเทือนอย่างน้อย 3 ชุด มาสร้างกราฟความสัมพันธ์ระหว่างระยะทางกับเวลา โดยให้แกนนอนเป็นระยะทางจากจุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว และแกนตั้งเป็นระยะเวลาที่คลื่นไหวสะเทือนต้องใช้ในการเดินทางจากจุดกำเนิด ก็จะได้กราฟเส้นโค้งระยะทาง-เวลา (Time travel curves) นำคาบความสัมพันธ์ระหว่างระยะทางกับเวลาที่บันทึกได้มาวิเคราะห์หาระยะห่างไปยังจุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหว (Focus) ดังภาพที่ 7 








ภาพที่ 7  กราฟความสัมพันธ์ระหว่างระยะทางและเวลาการเกิดแผ่นดินไหว

        จากนั้นนำระยะทางที่ได้มาสร้างวงกลมสามวงบนแผนที่ โดยให้จุดศูนย์กลางอยู่ที่เครื่องวัดคลื่นไหวสะเทือนแต่ละเครื่อง และให้รัศมีของวงกลมแต่ละวงเป็นยาวเท่ากับระยะทางที่คำนวณได้จากกราฟระยะทาง-เวลาในภาพที่ 8  วงกลมทั้งสามวงก็จะตัดกันที่จุดเดียวกันคือ จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว (Epicenter)    
ภาพที่ 8  การหาจุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว

แผ่นดินไหว


แผ่นดินไหว

แผ่นดินไหวคืออะไร
        แผ่นดินไหว (Earthquake) เป็นปรากฏารณ์ธรรมชาติซึ่งเกี่ยวเนื่องกับกระบวนธรณีแปรสัณฐาน  (Plate Tectionics) ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อหินเปลือกโลกเคลื่อนที่หรือสั่นสะเทือนและคายพลังงานออกมา ซึ่ง สามารถอุปมาอุปมัยได้เหมือนกับการดัดไม้บรรทัด  เมื่อเราใช้มือจับปลายไม้บรรทัดทั้งสองข้างแล้วดัดให้โค้งงออย่างช้าๆ จนเกิดความเค้น (Stress)  ไม้บรรทัดจะเกิดความเครียด (Strain) ภายใน แม้ว่าจะอ่อนตัวให้โค้งตามแรงที่เราดัด แต่ก็จะคืนตัวทันทีที่เราปล่อยมือ  และถ้าหากเราออกแรงดัดมากเกินไป พลังงานซึ่งสะสมอยู่ภายในจะเค้นให้ไม้บรรทัดนั้นหัก และปลดปล่อยพลังงานอย่างฉับพลัน ทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนและเสียง  หินในเปลือกโลกก็มีคุณสมบัติดังเช่นไม้บรรทัด  เมื่อแผ่นธรณีกระทบกัน แรงกดดันหรือแรงเสียดทานจะทำให้หินที่บริเวณขอบของแผ่นธรณีเกิดความเค้นและความเครียด สะสมพลังงานไว้ภายใน เมื่อหินแตกหรือหักก็จะปลดปล่อยพลังงานออกมา ทำให้ให้เกิดการสั่นสะเทือนเป็นแผ่นดินไหว

ภาพที่ 1 แผ่นดินไหวที่เมืองซานฟรานซิสโก ปี พ.ศ.2449
แผ่นดินไหวมักเกิดขึ้นที่ใด 
       แผ่นดินไหวมักเกิดขึ้นในบริเวณรอยต่อของแผ่นธรณี เนื่องจากเป็นบริเวณที่เกิดกระบวนการธรณีแปรสัณฐาน 3 ลักษณะ ดังภาพที่ 2
ภาพที่ 2 รอยต่อของแผ่นธรณี
  • แผ่นธรณีเคลื่อนที่ออกจากกัน (Divergent boundaries) แมกมาจากชั้นฐานธรณีภาคดันให้แผ่นธรณีโก่งตัวอย่างช้าๆ จนแตกเป็นหุบเขาทรุด (Rift valley) หรือสันเขาใต้สมุทร (Oceanic Ridge) ทำให้เกิดแผ่นดินไหวขนาดเบาที่ระดับตื้น (ลึกจากพื้นผิวน้อยกว่า 70 กิโลเมตร) เช่นบริเวณกลางมหาสมุทรแอตแลนติก 
  • แผ่นธรณีเคลื่อนที่เข้าหากัน (Convergent boundaries) การชนกันของแผ่นธรณีสองแผ่นในแนวมุดตัว (Subduction zone)  ทำให้แผ่นที่มีความหนาแน่นมากกว่าจมตัวลงตัวสู่ชั้นฐานธรณีภาค การปะทะกันเช่นนี้ทำให้เกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรงที่ระดับลึก (300 – 700 กิโลเมตร)  และหากเกิดขึ้นในมหาสมุทรก็จะทำให้เกิดคลื่นสึนามิ เช่น สันเขาใต้สมุทรใกล้เกาะสุมาตรา  และ เกาะฮอนชู ประเทศญี่ปุ่น 
  • แผ่นธรณีเคลื่อนที่ผ่านกัน (Transform fault) ทำให้เกิดแรงเสียดทานของหินเปลือกโลก แม้ว่าแผ่นธรณีจะเคลื่อนที่ผ่านกันด้วยความเร็วเพียงปีละประมาณ 3 - 6 เซนติเมตร แต่เมื่อเวลาผ่านไป 100 ปี ก็จะเคลื่อนที่ได้ระยะทาง 3 - 6 เมตร ซึ่งถ้าหากหินคืนตัว ก็จะสามารถปลดปล่อยพลังงานมหาศาลได้ ดังเช่นรอยเลื่อนซานแอนเดรียส์ก็เคยทำลายเมืองซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกา จนประสบความเสียหายหนักเมื่อปี พ.ศ.2449
        นอกจากบริเวณรอยต่อของแผ่นธรณีแล้ว แผ่นดินไหวยังเกิดขึ้นที่บริเวณจุดร้อน (Hot spot) ที่ซึ่งแมกมาลอยตัวขึ้นจากเนื้อโลกตอนล่างแล้วทะลุเปลือกโลกขึ้นมากลายเป็นภูเขาไฟรูปโล่ เช่น เกาะฮาวาย ที่กลางมหาสมุทรแปซิฟิก  และ เกาะไอซ์แลนด์ ที่ตอนบนของมหาสมุทรแอตแลนติก

ภาพที่ 3 แผนที่แสดงความลึกของจุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหว
    
        เมื่อพิจารณาแผนที่ในภาพที่ 3 จะเห็นได้ว่า แผ่นดินไหวส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่บริเวณรอยต่อของแผ่นเปลือกโลก โดยบริเวณที่แผ่นธรณีเคลื่อนที่ออกจากกันและแผ่นธรณีเคลื่อนที่ผ่านกันจะเกิดแผ่นดินไหวในระดับตื้น ส่วนบริเวณที่แผ่นธรณีเคลื่อนที่เข้าหากันเช่น เขตมุดตัวในวงแหวนไฟ  (Ring of fire) รอบมหาสมุทรแปซิฟิก บริเวณหมู่เกาะญี่ปุ่น หมู่เกาะฟิลิปปินส์ หมู่เกาะแปซิฟิกใต้ และชายฝั่งตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้ จะเกิดแผ่นดินไหวในระดับลึก ซึ่งมักเป็นตัวการทำให้เกิดคลื่นสินามิ ทั้งนี้ท่านสามารถติดตามการเกิดแผ่นดินไหวของครั้งล่าสุดของโลกได้ที่USGS Lastest Earthquakes in the World 

การแปรสัญฐานของแผ่นธรณี


การแปรสัณฐานของแผ่นธรณี

        เปลือกโลกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เราเรียกกระบวนการที่โลกสร้างและทำลายแผ่นเปลือกโลกนี้ว่า "ธรณีแปรสัณฐาน ธรณีภาค" หรือ "เพลต เทคโทนิกส์" (Plate Tectonics) คำว่า "เพลต" หมายถึงแผ่นธรณีภาค  ส่วน "เทคโทนิกส์" เป็นคำภาษากรีกหมายถึงการสร้างขึ้นใหม่ ฉะนั้นเพลต เทคโทนิกส์จึงแปลตรงตัวว่า กระบวนการสร้างแผ่นธรณีภาค  


คลิกที่ภาพ เพื่อดูการเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีเมื่อ 150 ล้านปีที่ผ่านมา


    
       สาระการเรียนรู้: