จุด กำเนิดแผ่นดินไหว (Focus) และจุดทำลาย (Epicenter)การเคลื่อน ที่ของเพลท ทำให้เกิดแรงเครียดมหาศาลกระทำต่อหินจนเกินกำลังที่มวลหินจะรับได้ เกิดการเคลื่อนตัวทันทีทันใด พร้อมกับปลดปล่อยพลังงานออกมา ทำให้เกิดแผ่นดินไหว ตำแหน่งที่หินเกิดการแตกและเคลื่อนตัวที่อยู่ลึกลงไปจากผิวโลก เรียกว่า Focus (จุดกำเนิดแผ่นดินไหว) ในขณะที่ตำแหน่งที่ผิวโลกเหนือตำแหน่ง Focus เรียกว่า Epicenter (จุดทำลาย)
Focus จะมีระดับความลึกแตกต่างกันออกไป อย่างไรก็ตาม เท่าที่พบจะอยู่ในระดับความลึกไม่เกิน 700 กม. และสามารถจัดแบ่งกลุ่มการเกิดแผ่นดินไหวได้ตามระดับความลึกของ Focus 3 กลุ่ม คือ (1) แผ่นดินไหวระดับตื้น เกิดที่ความลึกระหว่าง 0-70 กม. (2) แผ่นดินไหวระดับกลาง เกิดที่ความลึกระหว่าง 70-300 กม. และ (3) แผ่นดินไหวระดับลึก เกิดที่ความลึกระหว่าง 300-700 กม. แผ่นดินไหวที่มีขนาดใหญ่ มักจะเป็นแผ่นดินไหวระดับตื้น เกิดขึ้นบริเวณที่เป็นเปลือกโลก (Crust)
ขนาดและความรุนแรง (Magnitude and Intensity)การอธิบาย ลักษณะของแผ่นดินไหวแต่ละครั้ง จะอธิบายในรูปของพลังงานที่ถูกปล่อยออกมา และในรูปของความเสียหายที่เกิดขึ้น การอธิบายพลังงานที่ถูกปล่อยออกมาจากการเกิดแผ่นดินไหวแต่ละครั้ง จะอธิบายในรูปของขนาด (Magnitude) ในขณะที่การอธิบายความเสียหาย จะอธิบายในรูปของความรุนแรง (Intensity) โดยกำหนดให้มีมาตราวัดทั้งขนาดและความรุนแรง 1. ขนาด (Magnitude) ขนาดของแผ่นดินไหวเป็นค่าของพลังงานที่แผ่นดินไหวปลดปล่อยออกมาในแต่ละครั้ง แสดงได้โดยมาตราริคเตอร์ (Richter Scale) ซึ่งเสนอโดย C. F. Richter นักธรณีวิทยาแผ่นดินไหวชาวอเมริกัน เมื่อปี พ.ศ. 2443 การวัดขนาดของแผ่นดินไหวจะวัดโดยเครื่องมือที่เรียกว่า Seismograph (รูปที่ 16.6) โดยบันทึกและวัดออกมาเป็นกราฟ เรียกว่า Seismogram แสดงขนาดและระยะเวลาของแผ่นดินไหว ยิ่งห่างออกจากจุดกำเนิดแผ่นดินไหว ขนาดของคลื่นแผ่นดินไหวก็จะเล็กลง เนื่องจากขนาดของคลื่นจะสัมพันธ์กับระยะทาง ดังนั้น จึงสามารถวัดพลังงานทั้งหมดที่ถูกปล่อยออกมาจากแผ่นดินไหวแต่ละครั้งได้จาก การตรวจวัดขนาดของคลื่นที่ระยะทางต่าง ๆ กัน ในมาตราริคเตอร์นี้ แผ่นดินไหวขนาด 2.5 สามารถทำให้ผู้คนรู้สึกได้ ขนาด 4.5 จะทำให้เกิดความเสียหายให้แก่บางบริเวณ ขนาด 6 มีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดความเสียหายมาก ขนาด 7 ขึ้นไป จะเป็นแผ่นดินไหวที่รุนแรงมาก เนื่องจากมาตราริคเตอร์นี้เป็น Log-scale ดังนั้น แผ่นดินไหวที่มีขนาด 5 จะมีความรุนแรงเป็นสิบเท่าของขนาด 4 และขนาด 5 จะมีความรุนแรงน้อยกว่าขนาด 6 เป็นสิบเท่าเช่นกัน แผ่นดินไหวที่มีขนาดตั้งแต่มากกว่า 0 ถึงมากกว่า 8 เล็กน้อย ได้เคยเกิดขึ้นบนโลก แต่ยังไม่เคยมีขนาดถึง 9 ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะหินในโลกไม่มีความแข็งแรงพอที่จะทำให้พลังงานปริมาณมากขนาดนั้น สะสมกักเก็บไว้ในตัวมันได้ 2. ความรุนแรง (Intensity) ความรุนแรงของแผ่นดินไหว จะวัดจากความรู้สึกของคนและสัตว์ หรือผลกระทบที่เกิดขึ้นกับอาคารสิ่งก่อสร้าง สภาพภูมิประเทศที่เปลี่ยนไป โดยเทียบหาอันดับความรุนแรงได้ จากตารางสำเร็จที่บอกรายละเอียดของผลกระทบไว้เรียบร้อยแล้ว มาตราแสดงความรุนแรงของแผ่นดินไหว มีหลายมาตรา ขึ้นอยู่กับความนิยมในการใช้แต่ละประเทศหรือภูมิภาค ที่สำคัญได้แก่ (1) มาตรารอสซี่-ฟอเรล (Rossi-Forel, RF Scale) แบ่งออกเป็น 10 อันดับ (I-X) ใช้มากในประเทศยุโรป (2) มาตราเจ เอ็ม เอ (Japan Meteorological Agency, JMA Scale) แบ่งออกเป็น 8 อันดับ (0-7) ใช้มากในประเทศญี่ปุ่น (3) มาตราเมอร์แคลลี่ (Modifield Mercalli, MM Scale) แบ่งออกเป็น 12 อันดับ (I-XII) ใช้มากในสหรัฐอเมริกา สำหรับประเทศไทย ก็ใช้มาตราเมอร์แคลลี่ อันดับ I เป็นแผ่นดินไหวที่มนุษย์เราไม่สามารถรู้สึกได้ นอกจากตรวจวัดโดยเครื่องมือตรวจวัดแผ่นดินไหวเท่านั้น อันดับ III มนุษย์พอรู้สึกได้ อันดับ V รู้สึกเกือบทุกคน ของเริ่มแกว่งไกว อันดับ IX สิ่งก่อสร้างที่แข็งแรงจะเสียหาย พื้นดินแยก ไปจนถึงอันดับ XII ซึ่งเป็นแผ่นดินไหวที่ทำลายทุกสิ่งทุกอย่าง ความรุนแรงของแผ่นดินไหว จะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ที่สำคัญที่สุด คือ ระยะห่างจากผู้สังเกตและตำแหน่ง Epicenter ซึ่งจะเป็นตำแหน่งที่มีความรุนแรงมากที่สุด และลดน้อยลงเมื่ออยู่ห่างไกลออกไป ปัจจัยที่สำคัญอีกอย่างก็คือ ชนิดของหินและขนาดของการแข็งตัวของหิน เมื่อมีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นแต่ละครั้ง เจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้อง จะส่งแบบฟอร์มไปยังประชาชนในบริเวณที่เกิดแผ่นดินไหว เพื่อขอรับทราบข้อมูลต่าง ๆ โดยขอความร่วมมือประชาชนกรอกลงในแบบฟอร์มดังกล่าว เมื่อทราบข้อมูลต่าง ๆ แล้ว เจ้าหน้าที่ก็จะกำหนดค่าของความรุนแรงตามมาตราที่ใช้และลงตำแหน่งในแผนที่ เขียนเส้นระดับ (Contour) ที่มีขนาดของความรุนแรงที่เท่ากัน เพื่อแสดงบริเวณที่มีความรุนแรงสูงสุดและลดน้อยลงตามลำดับ ไปจนถึงบริเวณที่ไม่รู้สึกต่อการเกิดแผ่นดินไหวครั้งนั้น แผนที่แสดงความรุนแรงของแผ่นดินไหวที่เท่ากันที่ตำแหน่งต่าง ๆ ดังกล่าว เรียกว่า Isoseismal Map |
ภูเขาไฟ(Volcano)ภูเขาไฟมาจากคำว่า Vulcan (ภาษาโรมัน) หมายความว่า God of Fire โดยความหมายแล้ว ภูเขาไฟ อาจหมายถึง (1) เป็นช่อง (รูเปิด) ในเปลือกโลกที่หินหนืด (Magma) และก๊าซจากภายในโลก สามารถหนีขึ้นมาที่พื้นผิวโลกได้ หรือ (2) ภูเขาที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากการระเบิดของภูเขาไฟ หินหนืด (Magma) ซึ่งเกิดขึ้นภายในโลก เมื่อเคลื่อนตัวขึ้นสู่ผิวโลก โดยเฉพาะตามบริเวณขอบของเพลทต่าง ๆ บริเวณ Mid-ocean Ridge และบริเวณแนวมุดตัว (Subduction Zone) เมื่อหินหนืดโผล่ขึ้นมาที่ผิวโลก จะเรียกว่า ลาวา (Lava) อาจจะมีการระเบิดหรือไม่มีก็ได้ ถ้ามีการระเบิด มักจะมีแผ่นดินไหวขนาดเล็กเกิดขึ้นก่อน มากกว่า 80% ของเปลือกโลกทั้งที่เป็นพื้นทวีปและพื้นมหาสมุทร เป็นผลพวงมาจากการเกิดภูเขาไฟ นอกจากนั้น อากาศ น้ำ ที่มนุษย์เราใช้อยู่ในปัจจุบันก็เป็นผลพวงมาจากการเกิดภูเขาไฟที่มีมาอย่าง ต่อเนื่องหลายร้อยหรือหลายพันล้านปี ตั้งแต่โลกเริ่มเย็นตัวลง ดังนั้น ภูเขาไฟจึงเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ส่งผลกระทบต่อโลกและมนุษย์มาตั้งแต่ อดีตจนถึงปัจจุบัน |
ชนิดของภูเขาไฟภูเขาไฟสามารถแบ่งได้เป็น 3 ชนิด ขึ้นอยู่กับลักษณะ รูปร่าง และประเภทของการระเบิด 1. ภูเขาไฟรูปโล่ (Shield Volcanoes) มีลักษณะภาพตัดขวางคล้ายโล่ มีความลาดชันน้อย ประมาณ 15 องศา เกิดจากการไหลของลาวาที่ค่อนข้างเหลว ไหลแผ่เป็นบริเวณกว้าง ไม่มีการระเบิด เป็นลักษณะภูเขาไฟที่พบในหมู่เกาะฮาวาย 2. กรวยกรวดภูเขาไฟ (Cinder Cone) มีลักษณะภาพตัดขวางเป็น รูปกรวย ความลาดชันประมาณ 30-40 องศา เกิดจากการระเบิดพ่นลาวาและเถ้าถ่านออกมา หลังจากระเบิดกระจัดกระจายขึ้นสู่ท้องฟ้าแล้วแข็งตัวตกกลับลงมาสะสมตัวอยู่ รอบ ๆ ช่องระเบิด ตรงกลางจะเป็นแอ่งตื้น ๆ และมีขอบไม่สูงมากนัก แล้วจึงลาดลงไปหาภูมิประเทศแวดล้อม ตัวอย่างเช่น Mt. Vesuvius ประเทศอิตาลี และ Mt. Paricutin ประเทศเม็กซิโก 3. กรวยภูเขาไฟสลับชั้น (Strato-volcano, Composite Volcano) มีลักษณะภาพตัดขวางเป็นรูปกรวย เกิดจากการระเบิดหลาย ๆ ครั้ง โดยปกติจะเกิดการระเบิดอย่างรุนแรงก่อน พ่นเถ้าถ่าน ก๊าซ ไอน้ำ และเศษหินออกมา หลังจากนั้น จึงเกิดลาวาไหลออกมาซ้อนกันเป็นชั้น ๆ (รูปที่ 16.13) ภูเขาไฟชนิดนี้พบมากที่สุดในโลก ตัวอย่างเช่น Mt. Fuji ประเทศญี่ปุ่น Mt. Pinatubo ประเทศฟิลิปปินส์ และ Mt. St. Helens ประเทศสหรัฐอเมริกา |
วัตถุที่ถูกปล่อยออกมาจากการระเบิดของภูเขาไฟ อาจแบ่งได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้1. ลาวา (Lava) หินหนืดที่ไหลออกมา คุณสมบัติของหินหนืดอาจจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละพื้นที่ และเมื่อเย็นตัวลง อาจได้หินอัคนีคนละชนิด อุณหภูมิปกติจะสูงกว่า 1,000 องศาเซลเซียส 2. เศษหินภูเขาไฟ (Pyroclastic Debris) ได้แก่ วัตถุต่าง ๆ ที่ภูเขาไฟพ่นออกมา อาจจะมีขนาดใหญ่ ลักษณะกลมมน (Volcanic Bombs) หรือเป็นเหลี่ยม (Volcanic Blocks) หรืออาจจะมีขนาดเล็กขนาดเม็ดถั่ว (Lapilli) หรือขนาดเล็กเป็นเถ้าถ่าน (Volcanic Ash and Dust) 3. ก๊าซ (Gases) ก๊าซที่สำคัญที่ภูเขาไฟพ่นออกมาในขณะเกิดการระเบิด ได้แก่ H2O (70%), CO2 (15%), N2 (5%), สารประกอบซัลเฟอร์ H2S, SO4, SO2 อื่นๆ (5%) และที่เหลืออื่นๆ ประมาณ 5% ได้แก่ Cl, H2, As 4. ธุลีหลาก (Nuee Ardentes) ประกอบด้วย ธุลี ก๊าซ และไอน้ำ ลักษณะเป็นกลุ่มเมฆร้อน อุณหภูมิสูง เคลื่อนตัวเร็ว และเป็นอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์
|
ภูเขาไฟกับมนุษย์ภูเขาไฟ เป็นทั้งผู้ทำลายและผู้สร้าง มากกว่า 80%ของเปลือกโลกทั้งบนบกและทะเลเป็นผลพวงของภูเขาไฟ ภูเขาไฟเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดควบคู่มากับโลกตั้งแต่อดีตกาล ก๊าซที่ภูเขาไฟพ่นออกมาเมื่อหลายร้อยล้านปี ทำให้เกิดบรรยากาศ มหาสมุทร และสิ่งมีชีวิต ที่มีการวิวัฒนาการสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ภูมิประเทศต่าง ๆ บนเปลือกโลกส่วนหนึ่งก็เป็นผลพวงจากภูเขาไฟ หินภูเขาไฟที่เกิดมาจากการเย็นตัวของลาวา เป็นแหล่งแร่ที่สำคัญ ดินซึ่งผุพังจากหินภูเขาไฟ เป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ของแร่ธาตุสูง เหมาะแก่การเพาะปลูก บริเวณภูเขาไฟเป็นบริเวณที่มีแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพกักเก็บสะสมตัว ซึ่งมนุษย์สามารถพัฒนานำความร้อนธรรมชาติจากโลกขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้ในหลาย รูปแบบ มีการทำแหล่งแร่กำมะถันอย่างกว้างขวางในบริเวณรอบ ๆ ภูเขาไฟ มนุษย์จึงมีความสัมพันธ์และได้ประโยชน์หลายประการจากผลพลอยได้ของภูเขาไฟ มลภาวะที่สำคัญจากภูเขาไฟ ได้แก่ ก๊าซ SO2 ซึ่งเป็นอันตรายต่อระบบการหายใจ ตา คอ จมูก และผลกระทบจากฝนกรด ไม่นับรวมผลกระทบจากการเผาไหม้จากลาวาโดยตรง ที่มีอันตรายต่อทั้งชีวิตมนุษย์ สัตว์ พืชพันธุ์ และอาคารสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ถ้าหากอยู่ในทิศทางของการไหลล้นของลาวา รูป มลภาวะที่สำคัญของภูเขาไฟ คือ กลุ่มควันร้อน และก๊าซพิษต่างๆ http://www.rmutphysics.com/charud/naturemystery/sci3/volcano/index.htm |
2. คลื่นแผ่นดินไหวมีกี่ประเภท อะไรบ้าง
3. บริเวณหรือแนวสำคัญที่เกิดภูเขาไฟมีอะไรบ้าง
4. อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับแผ่นดินไหว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น